เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 14 มิถุนายน 2566 ที่สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย (คลองสาม) ถนนเลียบคลองสาม ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ดร.วีรศักดิ์ ฮาดดา นายกสมาคม อบต.แห่งประเทศไทย พร้อมคณะทำงาน นายธีรศักดิ์ พานิชวิทย์ ประธานคณะกรรมการด้านยุทธศาสตร์ สมาคม อบต.แห่งประเทศไทย นายบรรณ แก้วฉ่ำ ที่ปรึกษานายก อบต.แห่งประเทศไทย แถลงการนำเสนอการกระจายอำนาจท้องถิ่นต่อพรรคก้าวไกล
ดร.วีรศักดิ์ ฮาดดา นายกสมาคม อบต.แห่งประเทศไทย กล่าวว่า สืบเนื่องจาก สมาคม อบต.แห่งประเทศไทย ได้มีวาระการประชุม 3 สมาคมฯ เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 66 เพื่อทำเวิร์ดช๊อปในรายละเอียด และวันที่ 9 มิ.ย.สมาคมฯ ได้เชิญตัวแทนสมาคมฯ แต่ละจังหวัดทั่วประเทศได้นำเสนอปัญหาต่างๆ และวันนี้(14 มิ.ย.)ทีมงานฝ่ายบริหารได้สรุปประมวนปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้น ที่ได้ทำเวิร์ดช็อปเสนอ 3 สมาคมฯ พร้อมกับคณะพรรคก้าวไกล ที่สภาสันติบาลแห่งประเทศไทย ได้มีการประชุมปรึกษาหารือกันแล้วว่า มีเรื่องที่สำคัญโดยเฉพาะเรื่องที่จะยกเลิกระเบียบ ยกเลิกกฎหมาย ทำระเบียบใหม่ที่มันติดขัดเกี่ยวเรื่องการบริหารจัดการพื้นที่ ท้องถิ่น พื้นที่ซับซ้ำต่าง ๆ ทั้งหมดที่กำกับดูแลกำชับควบคุม ทำให้การทำงานของท้องถิ่นเป็นไปด้วยตวามลำบากแทนที่จะได้ดูแลประชาชนต้องมาติดขัดเรื่องระเบียบกฎหมาย ซึ่งแนวทางของสมาคมฯ ได้มีการสรุปประเด็นต่าง ๆ โดยที่จะให้พรรคก้าวไกล ได้นำเข้าไปสู่ยุทธศาสตร์ในการที่จะแก้ไขปัญหาท้องถิ่น
นายธีรศักดิ์ พานิชวิทย์ ประธานคณะกรรมการด้านยุทธศาสตร์ฯ กล่าวว่า สมาคม อบต.แห่งประเทศไทย เป็นสมาคมฯ ที่มีหน้าที่จะที่ต้องเร่งรัดในการยกระดับให้ระบบราชการท้องถิ่นรูปแบบ อบต. ให้รูปแบบในการทำงานมากขึ้น โดยมี 3-4 มิติ ที่จะนำเสนอคือเรื่องประเด็นที่เกี่ยวกับโครงสร้างการขับเคลื่อนองค์กรท้องถิ่นในภาพรวมระดับประเทศให้เข้าใจในทิศทางเดียวกันว่า เดิมทีราชการส่วนท้องถิ่นอยู่ใต้กำกับของกระทรวงมหาดไทย และก็ไปเชื่อมโยงภารกิจกับสำนักนายกรัฐมนตรีในเรื่องของการกระจายอำนาจ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาท้องถิ่นมาก สมาคมฯ จะเสนอในวันพรุ่งนี้ที่เข้าสู่เวที 3 สมาคมฯ เพื่อเสนอต่อพรรคการเมือง ไม่ว่าจะเป็นพรรคก้าวไกล พรรคอื่นใดก็แล้วแต่ ที่ในวันข้างหน้าเป็นแกนนำในการจัดตั้งขับเคลื่อนประเทศไทย ในฐานะนายกรัฐมนตรี และผู้เกี่ยวข้องกับการออกกฎหมายนั้นก็คือให้มีเสนอการจัดตั้งสำนักงานปกครองท้องถิ่นแห่งชาติขึ้นมา เพื่อเป็นกลไกกลางเทียบเท่ากระทรวงระดับกระทรวง โดยนำอำนาจหน้าที่ภารกิจต่างๆ ที่เดิมอยู่ที่กระทรวงมหาดไทย เอาภารกิจต่างๆ ที่อยู่สำนักนายกรัฐมนตรีกระจายอำนาจมาไว้กับหน่วยราชการที่เดียวจะเกิดรูปแบบสำนักงานการปกครองท้องถิ่นแห่งชาติ เป็นกลไกขับเคลื่อนระบบราชการแทนระบบเดิมที่มี โดยสรุปกรอบข้อเสนอเบื้องต้นที่จะนำสู่การประชุมร่วมคือ
1.เสนอให้ระบบราชการท้องถิ่น มีหน่วยงานหลักเป็นของตนเอง ซึ่งอาจมีชื่อเรียกได้ว่า สภาการปกครองท้องถิ่นแห่งชาติ ที่มีฐานะเทียบเท่ากระทรวง โดยนำกรอบงานด้านการกำกับดูแล การออกแบบการบริหารงานบุคคล ด้านงบประมณ ด้านอำนาจหน้าที่ ในส่วนของกระทรวงมหาไทยเดิม และให้นำสำนักงานกระจายอำนาจ ซึ่งปัจจุบันอยุ่ในการกำกับดูแลของ สำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้นำสองหน่วนยงานมาอยุ่ที่เดียวกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารงานในอนาคต
2. เสนอให้รูปแบบ อปท. มี 2 รูปแบบ รูปแบบทั่วไป อบจ. เทศบาล เปลี่ยน อบต. เป็นเทศบาล รูปแบบพิเศษ เดิมมี พัทยา กทม. และให้จังหวัดหรือพื้นที่ใด้มีความพร้อมสามารถจัดตั้งเป็นท้องถิ่นรูปแบบพิเศษได้ จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาขบวนการจัดทำ พรบ. ที่เป็นรูปแบบจังหวัดจัดการตนเอง ส่วนที่สองเสนอให้มีการพิจารณาวาระการดำรงตำแหน่งจากเดิม 4 ปี เป็น 5 ปี เนื่องจากเดิมการทำงานไม่สอดคล้องในแผน 5 ปี จึงเห็นควรให้ท้องถิ่นสามารถทำงานตามแผนยุทธ์ศาสตร์ที่วางไว้ได้คครอบคลุม ข้อเท็จจริงผู้บริหารสามารถทำงานได้เพียงสามปี
3.เสนอให้การเร่งรัดการแก้ไขปัญหาอุปสรรค เร่งด่วนประกอบด้วยแนวทางการกำกับดูแล ระดับอำเภอ จังหวัด กระทรวง ที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานด้านการบริงานบุคคลด้านแผนงาน และงบประมาณรวมถึงด้านการใช้อำนาจหน้าที่พิจารณาประเด็นการแทรกแซงการดำเนินงานของ อปท. ด้านการขอรับงบประมาณจากท้องถิ่น สมาคมจะนำแนวทางดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุม ในวันที่ 15-16 มิ.ย.นี้ เพื่อให้รัฐบาลและทุกพรรคการเมืองร่วมกันผลักดันให้ ระบบราชการท้องถิ่นเป็นระบบราชการหลักของในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนขั้นพื้นฐาน โดยหน่วยงานอื่นไม่สามารถมาดำเนินงานทับซ้อนกับหน่วยงานราชการท้องถิ่นได้
ด้านนายบรรณ แก้วฉ่ำ ที่ปรึกษานายก อบต.แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดีมากแต่เดิมระเบียบกฎหมายของท้องถิ่น นายกท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ราชการท้องถิ่น ไม่ได้มีโอกาสเข้าไปยกร่างแก้ไขปรับปรุงครั้งนี้เป็นโอกาสดีที่มีพรรคการเมืองที่มีคะแนนเสียงมากสุดในสภามารับฟังความคิดเห็นจากท้องถิ่นโดยเป้าหมายสูงสุดที่สมาคมฯ ได้เตรียมการก็คือทำอย่างไรให้องค์กรปกครองท้องถิ่นสามารถจัดบริการสาธารณประโยชน์ให้กับประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดเรามีเป้เหมายหลักอย่างเดียวข้อเสนอทุกๆ ประเด็นที่จะรวบรวมไปนำเสนอในประชุมร่วมสามสมาคมในวันที่ 15-16นี้เพื่อส่งต่อให้พรรคการเมืองเราจะนำเสนอต่อทุกพรรคไม่เฉพาะพรรคก้าวไกลเพราะว่าทุกพรรคการเมืองมี ส.ส. ในสภา มีหน้าที่โดยตรงที่จะขับเคลื่อนแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับท้องถิ่นทั้งหมดประเด็นสำคัญที่ทั้งสามสมาคมฯ เห็นร่วมกันเรื่องสภาท้องถิ่นมีอำนาจบทบาทในการจัดทำระเบียบต่างๆขึ้นใช้ในท้องถิ่นนั้นเองแทนระเบียบกระทรวงมหาดไทยจะเป็นโอกาสที่ให้การจัดการกระจายอำนาจกับประชาชนโดยองค์กรท้องถิ่นนั้นสามารถดำเนินการได้ตรงต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่ท้องถิ่น7,852 แห่งทั่วประเทศจะเป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศนี้ต่อไป
ทางด้าน ผศ.(พิเศษ) ดร.วิระศักดิ์ ฮาดดา นายก สมาคมฯ กล่าวว่า ในการเข้าไปพูดคุยกับพรรคการเมืองโดยมีการสรุปประเด็นที่จะเสนอในวันพรุ่งนี้แหมว่าจะเป็นฝ่ายรัฐบาลหรือไม่มีรัฐบาลการกระจายอำนาจมันเป็นหน้าที่ของ ส.ส.หน้าที่ของพรรคการเมืองทุกพรรคที่จะต้องสนับสนุนข้อมูลต่างๆ ก็จะต้องเข้าสู่สภามั่นใจว่า ทุกพรรคการเมืองเล็งเห็นเรื่องการกระจายอำนาจทุกพรรคการเมืองน่าจะสนับสนุนการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น เราไม่กังวลว่าพรรคก้าวไกลจะเป็นรัฐบาลหรือไม่เป็นรัฐบาล สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นเรื่องการนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน การกระจายอำนาจการใช้กฎหมายระเบียบที่มีปัญหาอุปสรรคต่อการบริหารท้องถิ่นเรื่องนี้ใครจะมาเป็นรัฐบาลตนเองมั่นใจว่า ถ้าข้อมูลเข้าไปในสภาผู้แทนราษฎร ส.ส.ทุกคน ทุกพรรคการเมืองจะสนับสนุน ซึ่งสามสมาคมฯ ได้ทำเวิร์ดช๊อปและร่วมกันพรีเซนต่อพรรคก้าวไกลอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่นซึ่งพรรคก้าวไกลจะรวบรวมเป็นเล่มเหมือนทำยุทธศาสตร์นโยบาย 300 ข้อ เพื่อที่จะเป็นไปได้ที่จะร้อยเป็นข้อนโยบาย