ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.ภาคภูมิภิภัทฒ์ สัจจพันธุ์ ผบช.สตม., พล.ต.ต.พันธนะ นุชนารถ รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.วริศร์สิริภ์ ลีละสิริ ผบก.ตม.3, พล.ต.ต.เกติ์ฉกาจ นิลประดับ ผบก.ตม.4,พล.ต.ต.ธนิต ไทยวัชรามาศ ผบก.สส.สตม., พ.ต.อ.รัชธพงศ์ เตี้ยสุด รอง ผบก.ตม.3, พ.ต.อ.มณุวัฒน์ กอสนาน รอง ผบก.ตม.4, พ.ต.อ.อภิมุข กานตยากร รอง ผบก.สส.สตม., พ.ต.อ.รัฐโชติ โชติคุณ รอง ผบก.สส.สตม., พ.ต.อ.แดนไพร แก้วเวหล รอง ผบก.สส.สตม., พ.ต.อ.สุรศักดิ์ สุรินทร์แก้ว รอง ผบก.ศท.ตม.ปฏิบัติราชการ บก.สส.สตม., พ.ต.อ.ชิตเดชา สองห้อง รอง ผบก.สส.ภ.7 ปฏิบัติราชการ บก.สส.สตม., พ.ต.อ.สรธรรศจ์ เอี่ยมละออ ผกก.1 บก.สส.สตม., พ.ต.อ.พิสิษฐ์ ศรีอ่อน ผกก.2 บก.สส.สตม., พ.ต.อ.รัฐพงษ์ แก้วยอด ผกก.4 บก.สส.สตม.,พ.ต.อ.ณภัทรพงศ สุภาพร ผกก.ปอพ.บก.สส.สตม.,พ.ต.อ.ชย พานะกิจ ผกก.(สอบสวน) กลุ่มงานสอบสวน บก.สส.สตม. ร่วมแถลงข่าวการจับกุมผู้ต้องหา 3 รายสำคัญ
คดีแรก 1. บก.ตม.3 จับกุมนายคิม (นามสมมติ) สัญชาติเกาหลีใต้ อายุ 35 ปี ในข้อหา เป็นบุคคลต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยการอนุญาตสิ้นสุด (Overstay) จำนวน 1,582 วัน พฤติการณ์กล่าวคือ เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมได้ออกสืบสวนปราบปราม ตรวจสอบคนต่างด้าวที่กระทำผิดกฎหมาย ในพื้นที่ อ.บางละมุง จว.ชลบุรี พบผู้ต้องหามีท่าทางพิรุธ จึงได้แสดงตัวเพื่อขอตรวจสอบ และได้ตรวจสอบข้อมูลในระบบสารสนเทศ ตม. จากการตรวจสอบทราบชื่อ นายคิม อายุ 35 ปี สัญชาติเกาหลีใต้ เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 3 พ.ย.2561 ได้รับการตรวจลงตราประเภท ผ.ผ.90 ครบกำหนดอนุญาต 31 ม.ค.2562 ซึ่งอยู่เกินกำหนดอนุญาตแล้ว จำนวน 1,582 วัน จากการตรวจสอบข้อมูลยังพบว่า นายคิม เป็นผู้ต้องหาตามหมายแดง (Red Notice) ขององค์กรตำรวจสากล (Interpol) ที่สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ต้องการตัว ในข้อหาร่วมกับผู้สมรู้ร่วมคิด จัดให้มี การเล่นการพนันออนไลน์ ซึ่งมีเงินหมุนเวียน 5,919,442,923 วอน (163 ล้านบาท) ซึ่งสำหรับทางสาธารณรัฐเกาหลีนั้นเป็นความผิดตามกฎหมายด้านการส่งเสริมกีฬาที่วางโทษไว้เป็นโทษจำคุกสูงสุด 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 70 ล้านวอน จึงได้จับกุมตัวผู้ต้องหาและแจ้งข้อกล่าวหา ในความผิดฐานเป็นคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยการอนุญาตสิ้นสุดนำตัวส่งพนักงานสอบสวนสภ.เมืองพัทยา ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
คดีที่ 2.บก.ตม.4 ร่วมกับ บก.สส.สตม. จับกุมนายมุน (นามสมมติ) สัญชาติเกาหลีใต้ อายุ 48 ปี ในข้อหาเป็นบุคคลต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยการอนุญาตสิ้นสุด(Overstay)พฤติการณ์กล่าวคือ บก.ตม.4 ได้ดำเนินการตามนโยบายของ สตม. ในการระดมจับกุมชาวต่างชาติที่อยู่ในราชอาณาจักรโดยการอนุญาตสิ้นสุด(Overstay)จากการสืบสวนเจ้าหน้าที่ชุดจับกุมทราบว่านายมุน อยู่ในราชอาณาจักรโดยการอนุญาตสิ้นสุดและเป็นผู้ต้องหาตามหมายแดง (Red Notice) ขององค์กรตำรวจสากล (Interpol) ที่สาธารณรัฐเกาหลี ต้องการตัวในข้อหา ฉ้อโกงประชาชน จึงได้ทำการตรวจสอบในระบบสารสนเทศ ตม. ทราบว่า นายมุน ได้ยื่นขออยู่ต่อในราชอาณาจักร ประเภทภรรยาไทย ที่ ตม.จว.บุรีรัมย์ โดยได้รับอนุญาตให้อยู่ต่อในราชอาณาจักร ถึงวันที่ 18 พ.ค.66 ซึ่งอยู่เกินกำหนดอนุญาตแล้ว จากการสืบสวนทราบว่า ปัจจุบันนายมุน ย้ายมาพักอาศัยที่ย่าน ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ กรุงเทพฯ จึงนำกำลังเข้าตรวจสอบบริเวณดังกล่าวจนพบตัวนายมุน และแจ้งข้อกล่าวหาในความผิดฐานเป็นคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยการอนุญาตสิ้นสุด(Overstay)และนำตัวส่งพนักงานสอบสวน สน.มักกะสัน ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป โดยนายมุน มีพฤติการณ์หลอกลวงผู้เสียหายในประเทศเกาหลีใต้ ว่าตนเองจะได้รับมรดกแต่ต้องจ่ายเงินให้ศาลก่อน แล้วให้ผู้เสียหายโอนเงินมาให้ยืมสำหรับใช้ต่อสู้คดีจำนวน 66 ล้านวอนและโทรหลอกลวงผู้เสียหายขอยืมบัตรเครดิตไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีจำนวน 17 ล้านวอน รวมมูลค่าความเสียหาย 83 ล้านวอน (2.2 ล้านบาท)
คดีที่ 3.บก.สส.สตม.จับกุมนายนัม (นามสมมุติ) อายุ 37 ปี และ นายจัง (นามสมมุติ) อายุ 44 ปี สัญชาติเกาหลีใต้ ในข้อหา เป็นบุคคลต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยการอนุญาตสิ้นสุด (Overstay) พฤติการณ์กล่าวคือ สำนักงานอัยการสูงสุด สาธารณรัฐเกาหลี ได้ประสานมายัง ป.ป.ส. และ บก.สส.สตม. ขอความร่วมมือ ให้สืบสวนติดตามตัว นายนัม และนายจัง ซึ่งเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับของสาธารณรัฐเกาหลี กระทำความผิดฐานลักลอบนำเข้ายาเสพติด หลบซ่อนตัวอยู่ในประเทศไทย กลับไปดำเนินคดีที่สาธารณรัฐเกาหลี โดยมีพฤติกรรมกระทำผิด คือ เมื่อประมาณต้นเดือน มีนาคม 2566 เจ้าหน้าที่ศุลกากรอินชอน สาธารณรัฐเกาหลี ตรวจพัสดุ EMS พบยาไอซ์ น้ำหนักรวมประมาณ 172.18 กรัมมูลค่า 17,218,000 วอน (ประมาณ 460,000 บาท) จึงนำส่งสำนักงานอัยการสูงสุดสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อดำเนินคดี จากนั้นขยายผลและสามารถจับกุมผู้ต้องหาชาวเกาหลีใต้จำนวน 3 คน
จากการสอบสวนพบว่าผู้จัดหายาเสพติดดังกล่าวอยู่ในประเทศไทยคือ นายนัม และนายจัง และชื่อที่จ่าหน้าบนพัสดุดังกล่าวคือ นายจัง สำนักงานอัยการสูงสุด จึงขอหมายจับบุคคลทั้งสอง บก.สส.สตม.จึงได้สืบค้นข้อมูลในระบบสารสนเทศ ตม. พบว่านายนัม เดินทางเข้ามาประเทศไทยเมื่อวันที่ 12 ก.พ.66 ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา ประเภท ผ.ผ.90 ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรถึงวันที่ 12 พ.ค.66 ส่วนนายจังเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 20 มิ.ย.65 ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราช อาณาจักรถึงวันที่ 17 ก.ย.65 ปัจจุบันทั้งสองคน อยู่โดยการอนุญาตสิ้นสุดแล้ว (Overstay) เจ้าหน้าที่ชุดจับกุม จึงได้สืบสวนติดตามตัว จนกระทั้งทราบว่า ทั้งสองคนเข้าพักอาศัยในย่านถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง กรุงเทพฯ จึงได้ไปประสานขอเข้าตรวจค้น ผลการตรวจค้นพบ นายนัม และนายจัง ทั้งสองคน และได้ตรวจสอบหนังสือเดินทางพบว่าการอนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรไทยได้สิ้นสุดลงแล้วจึงได้แจ้งข้อหาเป็นคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยการอนุญาตสิ้นสุด นำตัวส่ง พงส.กลุ่มงานสอบสวน บก.สส.สตม. ดำเนินคดีตามกฎหมาย