วันที่ 8 พ.ย.2566 พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. พล.ต.ท.อิทธิพล อิทธิสารรณชัย ผบช.ภ.2 รรท.ผบช.สตม.,พล.ต.ต.มานัด ศรีวงษา รอง ผบช.สตม.,พล.ต.ต.ประพันธ์ศักดิ์ ประสานสุข ผบก.ตม.6 รรท.ผบก.สส.สตม.,พ.ต.อ.อภิมุข กานตยากร รอง ผบก.สส.สตม.,พ.ต.อ.รัฐโชติ โชติคุณ รอง ผบก.สส.สตม.,พ.ต.อ.แดนไพร แก้วเวหล รอง ผบก.สส.สตม.,พ.ต.อ.สุรศักดิ์ สุรินทร์แก้ว รอง ผบก.ศท.ตม.ปฏิบัติราชการ บก.สส.สตม.,พ.ต.อ.ชิตเดชา สองห้อง รอง ผบก.สส.ภ.7 ปฏิบัติราชการ บก.สส.สตม.,พ.ต.อ.สรธรรศจ์ เอี่ยมละออ ผกก.1 บก.สส.สตม.,พ.ต.อ.พิสิษฐ์ ศรีอ่อน ผกก.2 บก.สส.สตม.,พ.ต.อ.รัฐพงษ์ แก้วยอด ผกก.4 บก.สส.สตม.,พ.ต.อ.ณภัทรพงศ สุภาพร ผกก.ปอพ.บก.สส.สตม.,พ.ต.อ.ชย พานะกิจ ผกก.(สอบสวน) กลุ่มงานสอบสวน บก.สส.สตม.ร่วมแถลงข่าวการจับกุมผู้ต้องหารายสำคัญ โดยตำรวจบก.สส.สตม.ได้จับกุมผู้ต้องหาขบวนการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ จำนวน 4 ราย 1.นายเฉิน (นามสมมติ) อายุ50 ปี สัญชาติไต้หวัน 2.นายเหอ (นามสมมติ) อายุ 40 ปี สัญชาติไต้หวัน 3.นายไดซูเกะ (นามสมมติ) อายุ 49 ปี สัญชาติญี่ปุ่น 4.นายทาโร่ (นามสมมติ) อายุ 41 ปี สัญชาติญี่ปุ่น ผู้ต้องหารายที่ 1,3 และ 4 ถูกเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ส่วนผู้ต้องหายที่ 2 ถูกจับกุมในความผิดฐาน เป็นคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยการอนุญาตสิ้นสุด ส่งพนักงานสอบสวนกลุ่มงานสอบสวน สตม.ดำเนินคดีตามกฎหมาย
สืบเนื่องจากบก.สส.สตม.ได้รับประสานข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ตำรวจไต้หวันและญี่ปุ่นกรณีแก๊งคอลเซ็นเตอร์กลุ่มหนึ่งใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการกระทำความผิด พฤติการณ์การกระทำความผิดคือขบวนการแก๊งคอลเซ็นเตอร์มีคนไต้หวันทำหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมและคนญี่ปุ่นทำหน้าที่เป็นพนักงานโดยพนักงานคนญี่ปุ่นจะอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อหลอกลวงคนญี่ปุ่นและรับหน้าที่จัดหาคนญี่ปุ่นซึ่งบินจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาเป็นพนักงานคอลเซ็นเตอร์ในประเทศไทยโดยจะให้ส่งข้อความโทรศัพท์ผ่านระบบ VOIP ไปยังผู้เสียหายซึ่งเป็นชาวญี่ปุ่นที่ประเทศญี่ปุ่น โดยตั้งฐาน CALL CENTER อยู่ในหมู่บ้านหรูสองหลังติดกันใน จ.สมุทรสาคร เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนจึงได้ทำการขอ
หมายค้นต่อศาลจังหวัดสมุทรสาคร เพื่อเข้าทำการตรวจค้นพบคนต่างด้าวจำนวน 3 คน มีนายเฉิน นายเหอ และนายไดซูเกะ พร้อมโทรศัพท์มือถือ จำนวน 11 เครื่อง คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค จำนวน 2 เครื่อง บัตรกดเงินสด และบัตรเครดิต จำนวน 5 ใบ และสคริปต์บทสนทนาที่ใช้สำหรับการพูดคุยกับผู้เสียหายและแบบฟอร์มกรอกข้อมูลผู้เสียหายฉบับภาษาจีนและญี่ปุ่น จำนวนหลายชุด
จากการตรวจสอบข้อมูลการเดินทางเข้ามาในประเทศไทยของคนต่างด้าวทั้ง 3 คน พบว่านายเฉิน เข้ามาในประเทศไทยเมื่อวันที่ 23 ก.ค.2566 ประเภทวีซ่า นักท่องเที่ยว 60 วัน การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรยังไม่สิ้นสุด นายเหอ เข้ามาในประเทศไทย เมื่อวันที่ 3 เม.ย.2566 ประเภทวีซ่า นักท่องเที่ยว 60 วัน ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวจนถึงวันที่ 1 ก.ค.2566 (OVERSTAY) นายไดซูเกะ เข้ามาในประเทศไทย เมื่อวันที่ 5 ต.ค.2566 ได้รับการยกเว้นวีซ่า ประเภท ผ.30 การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรยังไม่สิ้นสุด เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนจึงได้เสนอ ผบก.สส.สตม. เพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของ นายเฉิน และนายไดซูเกะ เนื่องจากมีพฤติการณ์เป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุขหรือ ความปลอดภัยของประชาชน หรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร เข้าลักษณะต้องห้ามมิให้เข้ามาในราชอาณาจักร ตามมาตรา 12 (7) ประกอบกับมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 และนำตัวส่ง กก.3 บก.สส.สตม. เพื่อกักตัวรอการส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักร และจับกุมนายเหอ ในข้อหา เป็นคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักร โดยการอนุญาตสิ้นสุด (OVERSTAY) นำตัวส่ง พงส.กลุ่มงานสอบสวน บก.สส.สตม.ดำเนินคดีตามกฎหมาย
จากการสืบสวนขยายผลพบว่าหัวหน้าของขบวนการเป็นคนไต้หวันซึ่งสั่งการมาจากประเทศไต้หวัน มีนายเหอเป็นรองหัวหน้า ทำหน้าที่ในการจัดหาบัญชีม้าและควบคุมพนักงานชาวญี่ปุ่นที่ทำหน้าที่เป็นพนักงาน CALL CENTER รวมถึงการประสานงานกับผู้ร่วมขบวนการในการหาคนญี่ปุ่นเข้ามาทำงานเป็น CALL CENTER นอกจากนี้นายเหอ ยังเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับของทางการไต้หวัน จำนวน 2 หมาย ในข้อหานำเข้ายาเสพติดและฉ้อโกง ส่วนนายเฉิน เป็นรองหัวหน้า ทำหน้าที่ในการควบคุมพนักงานชาวญี่ปุ่นที่ทำหน้าที่พนักงาน CALL CENTER ในการจัดหาข้อมูลของประชาชนชาวญี่ปุ่น เพื่อส่งให้กับพนักงาน CALL CENTER ใช้ในการโทรหลอก และนายไดซูเกะ ทำหน้าที่เป็นพนักงาน CALL CENTER ในการพูดคุยหลอกลวงผู้เสียหายชาวญี่ปุ่นในประเทศญี่ปุ่น และหากหลอกผู้เสียหายได้จะทำการจดบันทึกข้อมูลของผู้เสียหายลงในแบบฟอร์ม
จากนั้นบก.สส.สตม.ได้ขยายผลร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจไต้หวันและเจ้าหน้าที่ตำรวจญี่ปุ่นที่ประจำประเทศไทยพบว่าขบวนการแก๊งคอลเซ็นเตอร์มีคนไต้หวันเป็นหัวหน้าทีมและมีการนำคนชาวญี่ปุ่นเข้ามาทำหน้าที่เป็นพนักงาน CALL CENTER แล้วจำนวนหลายราย โดยจะมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนยังสืบทราบอีกว่า นายทาโร่ สัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งทำหน้าที่ในการจัดหาคนญี่ปุ่นมาทำ CALL CENTER หลบหนีไปอยู่ที่ จ.กระบี่ จึงสืบสวนจนทราบว่าหลบหนีอยู่ที่โรงแรมแห่งหนึ่ง อ.เมือง จ.กระบี่ จากการตรวจสอบในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ตม.ทราบว่า นายทาโร่ เดินทางเข้ามาในประเทศไทยล่าสุดเมื่อวันที่ 12 ต.ค.2566 คนอยู่ชั่วคราว (NON-90) การอนุญาต
ให้อยู่ในราชอาณาจักรยังไม่สิ้นสุด จึงได้เสนอให้ ผบก.สส.สตม. เพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของนายทาโร่ จากนั้นได้พบตัวนายทาโร่ ที่โรงแรมแห่งหนึ่ง อ.เมือง จ.กระบี่ จึงได้แจ้งให้นายทาโร่ ทราบ และนำตัวส่ง พงส.กลุ่มงานสอบสวน บก.สส.สตม. เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไปในส่วนของผู้ต้องหารายอื่นของขบวนการนี้
ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจประเทศไต้หวันและญี่ปุ่นจะได้ทำการออกหมายจับและจับกุมผู้ต้องหาในไต้หวันและประเทศญี่ปุ่นต่อไป