ปทุมธานี ยกระดับสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนตามกรอบแนวคิด BCG หนุนหันมาใช้วัสดุธรรมชาติ-ลดใช้โฟม

0
776

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 ณ ห้องประชุมเจ้าพระยาปทุมธานี ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี นายพงศธร กาญจนะจิตรา รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เป็นประธานการแถลงข่าว พร้อมด้วย นายอุดม สอนจิตต์ อุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี นายกษมา ถาวร ผู้เชียวชาญด้านการผลิตภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ นายชูเกษ อุ่นจิตติ บริษัท อีเอสโกลบอล จำกัด

นายพงศธร กาญจนะจิตรา รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย และข้อจำกัดของทางเลือกในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ซึ่งจังหวัดปทุมธานี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ จึงมีนโยบายที่มุ่งเน้นการฟื้นฟูและสร้างเศรษฐกิจภายในจังหวัด รวมทั้งให้ความสำคัญต่อกิจกรรมและธุรกิจชุมชนที่มีศักยภาพก่อให้เกิดการสร้างงานและสร้างอาชีพ โดยการนำเอาเศษวัสดุจากธรรมชาติมาผ่านกระบวนความคิดที่สร้างสรรค์แปรรูปให้เป็นบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ รวมทั้งเป็นการสร้างงานในชุมชนทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนภายในชุมชนและเชื่อมโยงกรอบแนวคิด BCG ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเน้นการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน ซึ่งใน “โครงการยกระดับสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนตามกรอบแนวคิด BCG” มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 10 กลุ่ม โดยมีกิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ ในการพัฒนายกระดับสินค้ามาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนและพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ การนำเศษวัสดุจากธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการใช้โฟมและพลาสติก ทั้งสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์ที่เกิดจากวัสดุธรรมชาติ สร้างงานในชุมชน ทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและเชื่อมโยงกรอบแนวคิด BCG Model ซึ่งปัจจุบันทั้ง 10 กลุ่ม สามารถผลิตบรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติได้ด้วยตนเองแล้ว จึงได้มีการนำสินค้าไปทดลองตลาดและจัดแสดงผลงานความสำเร็จของโครงการ โดยใช้ชื่องาน “โครงการยกระดับสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนตามกรอบแนวคิด BCG” ในวันที่ 28-30 พฤศจิกายน 2565 ณ ห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัลพลาซ่าแจ้งวัฒนt

นายพงศธร กาญจนะจิตรา  รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี กล่าวอีกว่า กิจกรรมในโครงการแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ด้วยกัน ส่วนที่ 1 จังหวัดปทุมธานี สนับสนุนเครื่องอัดขึ้นรูป จำนวน 10 เครื่อง ให้กับกลุ่มที่ผ่าน การคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของจังหวัดปทุมธานี ส่วนที่ 2 เป็นกิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกแก่ผู้เข้าร่วมโครงกำร ในเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ตามกรอบแนวคิด BCG สู่การสร้างอัตลักษณ์ของชุมชน โดยมุ่งเน้นการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ธรรมชาติ ในท้องถิ่นให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์และบริการของแต่ละกลุ่ม และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ ตามแนวคิด BCG และให้ความรู้ด้าน แนวทางการทำการตลาดให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคอย่างเหมาะสม และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจในยุคปัจจุบัน ส่วนที่ 3 ในการจัดงานแสดงสินค้าที่จะจัดขึ้น ที่ห้างเซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ ในวันที่ 28-30 พฤศจิกายน 2565 นี้ เพื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาจากโครงการ ในการสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์ที่เกิดจากวัสดุธรรมชาติตามกรอบแนวคิด BCG Model และต้องการให้ประชาชนที่มาเที่ยวชมงานแสดงสินค้า ได้เยี่ยมชมต้นแบบของผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ที่ดีมีคุณภาพ เพื่อสื่อให้เห็นถึงการนำเอาอัตลักษณ์ของชุมชนในจังหวัดปทุมธานีมาผลิตเป็นสินค้าจากวัสดุธรรมชาติ และคาดหวังว่าในกำรทดสอบตลาดครั้งนี้ ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ ตามกรอบแนวคิด BCG Model นั้น สามารถเพิ่มยอดขายให้กับผู้ประกอบการของจังหวัดปทุมธานี และช่วยปลูกจิตสำนึกให้กับผู้บริโภคในการลดการใช้โฟมและพลาสติกให้หันมาใช้วัสดุธรรมชาติแทน

อย่างไรก็ตามผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับประโยชน์ จากเครื่องอัดขึ้นรูปเพื่อใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติและองค์ความรู้เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ โดยการนำเศษวัสดุจากธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการใช้โฟมและพลาสติก ได้ออกบูธแสดงสินค้าที่พัฒนาแล้ว เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน ในการจัดทำโครงการนี้ในภาพรวมประชาชนจะได้รู้จักแนวคิดในการนำวัสดุเหลือทิ้ง นำกลับมาเพิ่มมูลค่าเป็นบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ และได้จับจ่ายใช้สอยของดีของจังหวัดปทุมธานี เกิดการยกระดับสินค้ามาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ในจังหวัดปทุมธานีอีกทั้งยังมีการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ โดยการนำเศษวัสดุจากธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์และมีการขับเคลื่อน และสร้างแนวคิดให้กับวิสาหชุมชน เกษตรกร ในการสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์ ที่เกิดจากวัสดุธรรมชาติ สร้างงานในชุมชน ทำให้เกิดการจ้างงานมากขึ้น และทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน และเชื่อมโยงกรอบแนวคิด BCG Model

 นอกจากนี้ นายกษมา ถาวร ผู้เชียวชาญด้านการผลิตภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ นายชูเกษ อุ่นจิตติ บริษัท อีเอสโกลบอล จำกัด ได้มีการนำเครื่องอัดขึ้นรูปของวัสดุธรรมชาติที่นำไปมอบให้กับชุมชนต่าง 10 แห่งในจังหวัดปทุมธานี สาธิตการขึ้นรูปทำเป็น จาม ชาม ถ้วย จากวัสดุธรรมชาติจาก ผักตบชวา กาดไผ่ ใบสักและใบกัญชา ซึ่งได้รับความสนใจจากตัวแทนชุมชนที่ร่วมการแถลงข่าวอย่างมากหลายคนหวังเป็นอย่างยิ่งจะนำเครื่องขึ้นรูปไปต่อยอดสร้างผลิตภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติเพื่อสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนอีกด้วย